#วัตถุดิบแพง

“ไข่ไก่” ต้นทุนปริ่มราคาขาย เกษตรกรปาดเหงื่อ

“ดราม่า” ไข่ไก่แพง สืบทอดกันมาทุกยุคทุกสมัยจนกลายเป็นหนึ่งในดัชนีการเมืองวัดความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรีในช่วงเวลานั้นๆ จึงไม่แปลกใจถ้าได้ยินเสียงบ่นอื้ออึงสร้างกระแสเป็นช่วงๆ เช่นเดียวกับรัฐบาลชุดใหม่ที่โดนรับน้องตั้งแต่ยังไม่แถลงนโยบายต่อสภา “ไข่…เศรษฐา แพงทะลุ 5 บาท” โดยกล่าวว่าราคาขายปลีกไข่ไก่อยู่ที่ฟองละ 5.10 บาท หากเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงหรือผู้ค้าไข่ไก่ จะเห็นเป็นเรื่องธรรมดาของการค้าตามกลไกตลาด เพราะต้องบวกค่าใช้จ่ายจากฟาร์มไปจนถึงจุดจำหน่าย ซึ่งต้องผ่านตัวกลางหลายทอดและขึ้นกับปัจจัยแวดล้อมของแต่ละพื้นที่เป็นสำคัญ ก่อนอื่น ต้องยอมรับความจริงว่า “ไข่ไก่” เป็นอาหารมหาชนที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุดและราคาถูกที่สุดเมื่อเทียบกับโปรตีนชนิดอื่น ไข่ไก่จึงเป็นอาหารที่คนทุกเพศ ทุกวัย…

ภาครัฐ ชี้ ดูแลราคาไข่ไก่เหมาะสม เป็นธรรมกับผู้ผลิต-ผู้บริโภค

รายงานสถานการณ์ราคาไข่ไก่ของไทยขณะนี้เป็นไปกลไกตลาดภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐ ต้นทุนการผลิตและราคาไข่คละหน้าฟาร์มอยู่ในระดับที่เหมาะสม เป็นธรรมกับผู้ผลิตและผู้บริโภค ส่วนราคาขายปลีกต้องผ่านพ่อค้าคนกลางหลายทอดทำให้ราคาปรับเพิ่มบ้างในแต่ละพื้นที่ ล่าสุด กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่า ราคาไข่ไก่ทุกเบอร์ทรงตัวมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 หลังมีการปรับราคาไข่คละหน้าฟาร์มจาก 3.80 บาท เป็น 4…

“รัฐบาลใหม่” ความหวังภาคปศุสัตว์ แก้ปัญหาครบวงจรต้นน้ำ-ปลายน้ำ

เห็นโฉมหน้าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นที่เรียบร้อย แต่งานสำคัญตามนโยบายขายฝันที่ตกปากรับคำไว้ช่วงเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ถูกทวงถามสัญญาประชาคม โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจมหภาคเศรษฐกิจประเทศ ปัญหาปากท้องของคนไทย และความเดือดร้อนของภาคส่วนต่างๆ หวังให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องเข้าไปแก้ปัญหา พิสูจน์ฝีมือในการเดินหน้าประเทศไทยให้สัมฤทธิ์ผล อย่างรวดเร็ว หลังระบบบริหารราชการแผ่นดินอยู่ในภาวะ “สุญญากาศ” มา 5 เดือน  ภาคปศุสัตว์เป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไม่น้อยกว่าภาคอื่นๆ…

เกษตรกรเลี้ยงหมูผ่าทางตัน เลี้ยงหมูเล็กส่งร้านหมูย่าง ต่อชีวิต  หวัง ก.พาณิชย์ เร่งคลอดมาตรการช่วยเหลือ

ชะตาชีวิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูไทยช่วง 2 ปีมานี้ เรียกได้ว่า “พระศุกร์เข้า พระเสาร์แทรก” เจอปัญหาไม่รู้จบ เห็นเค้าลางอาจต้องอำลาอาชีพในอนาคต จากปัญหาค้างคาตั้งแต่ปลายปี 2564 วัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับราคาแรงกว่า 30% พอปี 2565 ประกาศพบโรค…

ผู้เลี้ยงหมู “ปาดเหงื่อ” วัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับเพิ่ม 10% หลังรัสเซียพร้อมปิดล้อมทะเลดำ

ผลพวงจากกระทรวงกลาโหมรัสเซียประกาศเตือนเรือทุกลำที่เดินทางในทะเลดำไปยังท่าเรือของยูเครน ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นเป้าหมายที่อาจขนส่งยุทโธปกรณ์ทางทหารทั้งหมด หลังรัสเซียไม่ต่ออายุข้อตกลงเปิดทางทะเลดำให้ขนส่งธัญพืชออกจากยูเครนได้อย่างปลอดภัย (Black Sea Grain Initiatives) ส่งผลราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับขึ้นทันที 10% และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นต่อเนื่องซ้ำรอยเดิมปีที่แล้ว ที่วัตถุดิบปรับสูงขึ้นถึง…

หลายปัจจัยดันต้นทุนการผลิตพุ่ง สวนทางราคาขายไข่ไก่

นายมงคล  พิพัฒสัตยานุวงศ์ นายกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ เปิดเผยถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้ต้นทุนการผลิตไข่ไก่สูงขึ้น โดยล่าสุดอยู่ที่ฟองละ 3.75 บาท ขณะที่ราคาขายไข่ไก่คละหน้าฟาร์มปรับได้เพียงเล็กน้อย โดยปัจจุบันเพิ่มปรับมาเป็นฟองละ 4.00 บาท หลังจากขายเพียงฟองละ 3.80 บาทมาหลายสัปดาห์…

ผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศ ชวนบริโภคหมูไทยปลอดภัย สร้างชาติช่วยเกษตรกร

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ชวนคนไทยเลือกซื้อหมูไทย-กินหมูไทยปลอดภัยกว่า “หมูเถื่อน” ร่วมสร้างเศรษฐกิจประเทศชาติ ช่วยต่อลมหายใจเกษตรกร หลังถูกหมูเถื่อนแทรกแซงตลาดจนราคาตกต่ำ สวนทางราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ที่สำคัญหมูนำเข้าผิดกฎหมายค้างปี มีเชื้อโรคปนเปื้อนเป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สังเกตการณ์เปิดตู้หมูเถื่อน 161…

ฝากรัฐบาลชุดใหม่…โปรดช่วยต่อลมหายใจชาวหมูรายย่อย

ตลอดช่วงหน้าร้อนนี้ความหวังว่าราคาหมูหน้าฟาร์มจะดีขึ้นบ้างคงหมดหวัง สถานการณ์ตอนนี้ของชาวหมูเรียกได้ว่า “น้ำตาตก” เนื่องจากราคาขายหมูหน้าฟาร์มอ้างอิงเขตภาคตะวันตกอยู่ที่ 70 บาท/กก. ไม่ได้สะท้อนถึงต้นทุนการผลิตที่คงตัวในระดับสูงกว่า 90 บาท/กิโลกรัม แต่ก็ยังดีที่แนวโน้มต้นทุนที่เริ่มลดลง (ภาพที่ 1) ภาพที่ 1 ต้นทุนการผลิตและราคาหน้าฟาร์ม…

ผู้เลี้ยงสุดทน…จี้รัฐเร่งปราบขบวนการทุจริต “หมูเถื่อน” และแก้โครงสร้างวัตถุดิบอาหารสัตว์สูงเกินจริง ก่อนหมูไทยล่มสลาย

ชาวหมูรวมตัวจี้รัฐบาลเร่งปราบขบวนการทุจริตหมูเถื่อน แก้โครงสร้างต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์สูงเกินจริง เหตุทั้งสองปัญหากำลังฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ผู้เลี้ยงหมูไทย วันที่ 9 พฤษภาคม 2566 ทำเนียบรัฐบาล – ผู้เลี้ยงสุกรทั่วไทยกว่า 2,000 คน  นำโดยนายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ…

“มิลค์บอร์ด” มีมติเห็นชอบเสนอปรับราคากลางรับซื้อน้ำนมดิบและน้ำนมโคให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต้นทุนที่สูงขึ้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร

                นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (Milk board) ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (Milk board)…

ลดอะไร?  ช่วยให้รอด ในภาวะวิกฤติราคาสุกรตกต่ำ

ย่างเข้าสู่เดือนมีนาคม ที่ปีนี้น่าจะอุณหภูมิร้อนจัดไปแตะ 43 C กันเลยทีเดียว ร้อนกายไม่พอ ยังร้อนใจเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรกันอีกมากมายหลายประเด็น สำคัญสุดคือราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มได้ลดลงอย่างน่าตกใจ บางพื้นที่ได้ลงมาแตะหลัก 70 กว่าบาทกันแล้ว ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากการบิดเบือนกลไกการตลาด และเนื้อสุกรลักลอบนำเข้าเถื่อนที่สร้างความปั่นนป่วนกันอยู่ในขณะนี้ ซึ่งในส่วนนั้นคงต้องเป็นระดับนโยบาย หรือเรื่องราวของภาครัฐ…

หมูไก่ไข่ ชะตากรรมเดียวกัน ต้นทุนการผลิตสูง ร้องรัฐช่วยด่วน

สงครามรัสเซีย-ยูเครนยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติ และจะฉลองครบรอบ 1 ปี ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งสงครามส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศ เป็นผู้ส่งออกธัญพืชและวัตถุดิบอาหารสัตว์รวมกันติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และยังเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันระดับต้นๆ ของโลก  ขณะที่วันนี้ วิกฤตโควิด-19 อ่อนแรง เพราะโลกเข้มแข็งขึ้นด้วยวัคซีนป้องกันเชื้อโรคที่ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว ควบคู่กับนโยบายป้องกันประเทศและป้องกันส่วนบุคคลดีขึ้น…

รัฐต้องทำอะไรเพื่อช่วยคนเลี้ยงหมูให้รอดในปี 2566

สถานการณ์คนเลี้ยงหมูปี 2566 ไม่สู้ดีนัก เนื่องจากวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาแพงมาก ปัจจุบันกากถั่วเหลือง 23.40 บาท/กก. ข้าวโพดหน้าโรงงาน 13.40 บาท/กก. (ชาวไร่ข้าวโพดขายได้ 9.50 บาท/กก.) ปลายข้าว 14.20…

วัตถุดิบแพง…ดันต้นทุนปศุสัตว์อ่วม  

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณผลผลิตธัญพืชลดลงไม่เป็นไปตามฤดูกาลปกติ และ สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติ  เป็นอุปสรรคด้านการขนส่ง และการกักตุนธัญพืชในหลายประเทศ นับเป็นสองปัจจัยหลักที่ทำให้ “ราคาธัญพืชวัตถุดิบ” ในตลาดโลกมีราคาสูงเป็นประวัติการณ์ ทั้งยังคงมีทิศทางในเกณฑ์สูงไปอีกตลอดปี 2566 เมื่อของน้อยราคาย่อมแพงขึ้นเป็นเรื่องปกติของหลักซัพพลาย-ดีมานด์ ราคาพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์เป็นต้นทุนหลักของอาหารสัตว์ และอาหารสัตว์ก็เป็นต้นทุนหลักของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ มีผลโดยตรงต่อกำไร-ขาดทุน…

Related News