ซีพีเอฟ รวมพลัง 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำ เดินหน้า 5 โครงการเร่งกำจัดปลาหมอคางดำ

ซีพีเอฟ รวมพลัง 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำ เดินหน้า 5 โครงการเร่งกำจัดปลาหมอคางดำ

ปัญหาการแพร่ระบาดของ “ปลาหมอคางดำ”ที่แพร่ระบาดไปกว่า 16 จังหวัด ที่สร้างความเสียหายต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และระบบนิเวศน์อย่างรุนแรงเนื่องจากอาศัยได้ทั้ง น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงต้องเร่งแก้ไข แต่การจำกัดต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ด้วยเหตุนี้ ซีพีเอฟ จึงร่วมสนับสนุนการแก้ปัญหา ด้วย 5 โครงการอย่างเร่งด่วน พร้อมรวมพลัง 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำ เพื่อบูรณาการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำเชิงรุกในทุกมิดิ

ด้วยความตระหนักถึงความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและระบบนิเวศน์ ซึ่ง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ จึงต้องการช่วยสนับสนุนการแก้ไขอย่างบูรณาการ ด้วยการประกาศความร่วมมือกับคณาจารย์จาก 3 สถาบันการศึกษาชั้นนำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมทั้งโรงงานผลิตปลาป่น เพื่อแก้ไขสถานการณ์ของปลาหมอคางดำเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา

จากการให้สัมภาษณ์ชอง คุณประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ พร้อมสนับหนุนการแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ ผ่านแผนปฏิบัติการเขิงรุก 5 โครงการ เริ่มจาก

โครงการที่ 1 ทำงานร่วมกับกรมประมงสนับสนุนการรับซื้อปลาหมอคางดำจากทุกจังหวัดทั่วประเทศที่พบการระบาดในราคากิโลกรัมละ 15 บาท ตั้งเป้ารับซื้อ 2 ล้านกิโลกรัม เพื่อนำมาผลิตปลาป่น โดยร่วมมือกับ โรงงานปลาป่นศิริแสงอารำพี จังหวัดสมุทรสาคร รับซื้อปลาหมอคางดำในพื้นที่ไปแล้วกว่า 600,000 กิโลกรัม และยังมีแผนรับซื้ออย่างต่อเนื่อง พร้อมประสานจุดรับซื้อเพิ่มเติม เพื่อเร่งกำจัดปลาหมอคางดำออกจากระบบนิเวศน์ให้มากและเร็วที่สุด

เมื่อติดตามรายงานหลังจากลงพื้นที่ตรวจแหล่งรับซื้อปลาหมอคางดำในจังหวัดสมุทรสาครของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คุณปรีชา ศิริแสงอารำพี เจ้าของโรงงานปลาป่นศิริแสงอารำพี จ.สมุทรสาคร ได้สอบถามชาวประมงพื้นบ้านที่นำปลามาขาย พบว่า นับจากวันแรกที่กรมประมงเริ่มโครงการรับซื้อ เพื่อนำไปปลาป่น พบว่า ปริมาณปลาหมอคางดำลดลงกว่า 80% นับเป็นการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้เรือประมงพื้นบ้านจับปลาหมอคางดำได้น้อยลง แต่ยังต้องดำเนินการจับปลาหมอคางดำอย่างต่อเนื่อง

โครงการที่ 2 :  ร่วมสนับสนุนภาครัฐและชุมชน ปล่อยปลาผู้ล่าลงสู่แหล่งน้ำ จำนวน 200,000 ตัว โดยที่ผ่านมา บริษัทมีการส่งมอบปลากะพงขาว จำนวน 45,000 ตัว ให้กับประมงจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และจันทบุรี ทั้งนี้ ขั้นตอนในการปล่อยปลาผู้ล่านั้น เป็นไปตามแนวทางของกรมประมง เพื่อกำจัดลูกปลาที่เหลือออกจากระบบนิเวศน์ให้มากที่สุด

โครงการที่ 3 : ร่วมสนับสนุนภาครัฐ ชุมชนและภาคประชาสังคม จัดกิจกรรมจับปลา สนับสนุนอุปกรณ์จับปลาและกำลังคน  ในทุกพื้นที่ที่ประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง อาทิ ที่ผ่านมาบริษัทได้ร่วมกิจกรรม “ลงแขกลงคลอง ทีมแม่กลองปราบหมอคางดำ” ที่จัดขึ้นในจังหวัดสมุทรสงครามแล้ว 4 ครั้ง เป็นต้น และจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องในทุกจังหวัดทั่วประเทศที่มีการระบาด

โครงการที่ 4 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากปลาหมอคางดำ  โดยมีสถาบันการศึกษาแสดงความสนใจเพื่อร่วมดำเนินการดังกล่าว ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ศึกษาวิจัยและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งที่ผ่านมา บริษัทได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาเมนูอาหารจากปลาหมอคางดำ  อาทิ ปลาร้าทรงเครื่อง ผงโรยข้าวญี่ปุ่น และ น้ำพริกปลากรอบ และ

โครงการที่ 5 : ร่วมทำวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญในการหาแนวทางควบคุมประชากรปลาหมอคางดำในระยะยาว  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แสดงเจตจำนงร่วมมือกับบริษัทในการบูรณาการเพื่อพัฒนาแนวทางที่จะบรรเทาปัญหาในระยะยาวต่อไป และยินดีที่จะร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศเพิ่มเติม

ด้าน มหาวิทยาลัยทั้ง 3 แห่ง ที่ร่วมผนึกกำลังร่วมกำจัดปลาหมอคางดำ ยืนยันว่า มีความพร้อมเพราะที่ผ่านมาได้ศึกษาวิจัยปลาชนิดนี้มาระยะหนึ่งแล้ว ดังเช่น  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผศ.ดร.สิทธิชัย ฮะทะโชติ ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และพันธกิจเพื่อสังคม ยืนยันว่า มีนักวิชาการที่ความเชี่ยวชาญโดยตรง ทำการวิจัยปลาหมอคางดำมาหลายปี มีเทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อช่วยควบคุมกำจัด ทั้ง การศึกษาระยะเวลาเหมาะสมในการปล่อยปลานักล่า ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งพัฒนาการแปรรูป นำปลาหมอคางดำมาใข้ประโยชน์ ยกตัวอย่าง นำไปผลิตปลาร้า โดยใช้จุลินทรีย์ช่วยลดระยะเวลาการหมักให้สั้นลง สอดคล้องกับ ผศ.ดร.นันทิภา พันธุ์สวัสดิ์ หัวหน้าภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง ที่พัฒนาเมนูอาหารจากปลาหมอคางดำ เช่น ขนมจีนน้ำยาที่ใช้ปลาได้ทุกชนาด และต้องพัฒนาวิธีการแปรรูปตัดแต่งเนื้อปลา การทำเนื้อปลาแข่แข็ง เพื่อสะดวกต่อการขนส่ง เพราะการบริโภค ถือเป็นอีกวิธีที่ข่วยลดปริมาณปลาหมอคางดำได้

ในชณะที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผศ.ดร.วัลย์ลดา กลางนุรักษ์ ผู้ช่วยคณบดี คณะเทคโนโลยีการเกษตร ยืนยันว่า พร้อมนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยร่วมกับวิธีควบคุมทางชีวภาพ เช่น เทคโนโลยี Environmental DNA  ซึ่งเป็นการสำรวจร่องรอย DNA ในธรรมชาติ สำรวจการระบาดได้ตั้งแต่ช่วงต้น ก็สามารถนำปลาผู้ล่าเข้ามาได้ทันการณ์ ตัดโอกาสการขยายพันธุ์ของปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ

ด้วยเหตุนี้ “การจับ” ถือเป็นวิธีลดปริมาณปลาหมอคางดำได้เร็วที่สุด ผศ.ดร.สรณัฎฐ์ ศิริสวย ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง ให้ข้อมูลว่า เห็นได้จากการที่กรมประมงอนุญาตให้ใช้เครื่องมือต้องห้ามจับในบางพื้นที่ นำปลาขนาดใหญ่ออกจากแหล่งน้ำ จากนั้นปล่อยปลานักล่าจัดการลูกปลาหมอที่หลงเหลือ เมื่อทำอย่างต่อเนื่องจะช่วยลดปริมาณปลาหมอคางดำได้ ส่วนแผนในระยะยาว กรมประมงอยู่ระหว่างทำการวิจัยปลา 4N เพื่อผสมกับปลาปกติ 2N ได้เป็นปลา 3N ซึ่งเป็นหมันขยายพันธุ์ต่อไม่ได้

สำหรับประเด็นคำถาม ที่เกษตรกรเข้าใจว่าไข่ปลาสามารถอยู่ได้ถึง 2 เดือนในช่วงที่ตากบ่อนั้นผศ.ดร.สรณัฎร์ ให้ข้อมูลว่า แทบเป็นไม่ได้เลยสอดคล้องกับ กรมประมงที่ ขี้แจงว่า  ไข่ปลาหมอคางดำสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมนอกปากปลาหมอคางดำได้ถึง 2 เดือน และยังฟักเป็นตัวได้จากหลักวิชาการด้านประมง พบว่า พฤติกรรมของปลาหมอคางดำเป็นปลาที่พ่อปลาอมไข่ไว้ในปาก เพื่อฟักไข่ในปากไข่ปลาต้องได้รับความชุ่มชื้นและออกซิเจนอย่างเพียงพอ จึงจะเป็นสภาพที่พร้อมในการฟักลูกปลา ดังนั้น ไข่ปลาหมอคางดำจึงไม่สามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้ หากนำไข่ปลาหมอคางดำขึ้นมาจากน้ำแล้วทิ้งไว้จนแห้งจะกลายเป็นไข่เสียทันที ไม่สามารถฟักเป็นตัวได้อีก

สุดท้าย คงต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนทุกคน หากพบเจอปลาหมอคางดำที่ไหนให้แจ้งกับกรมประมงทันที ส่วนการฟื้นฟูสัตว์น้ำพื้นถิ่น กรมประมงมีแผนดำเนินการหลังจากกำจัดหรือลดจำนวนปลาหมอคางดำในธรรมชาติได้แล้ว…

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Related News